กังวล หรือ วิตกกังวล กับภาษีนิติบุคคล และตัวคุณลูกค้า บุคคลธรรมดา
แนะการประหยัดภาษี กับมืออาชีพที่ปรึกษาทางการเงิน

ให้กรรมการบริษัทหรือคีย์แมน สร้างมรดกเงินสดสำรอง ด้วยการประหยัดภาษีนิติบุคคล

บริหารอย่างไรให้ได้ประโยชน์ตามบทบัญญัติแห่งประมวลรัษฎากร 
ด้วย สินทรัพย์ งบดุล และความมั่งคงการบริหารองค์กร ห้างหุ้นส่วน บริษัทจำกัด การควบรวม 
และบริษัทจำกัด(มหาชน) เพื่อส่งมอบทรัพย์สิน ให้แก่ทายาท รุ่นที่ 3 

1. กรรมการบริหารบริษัทหรือนิติบุคคล ด้านบัญชีที่มีความเข้าใจ ให้กรรมการหรือผู้ถือหุ้นสามารถได้รับผลตอบแทนที่คุ้มค่าต่อทรัพยากรที่มีขององค์กร ได้สิทธิตามประมวลรัษฎากรของกรมสรรพากร
2. สร้างเงินสด มูลค่า ของกิจการและธุรกิจ ให้ผู้บริหารด้วยความมั่นคง
3. ขยายผลตอบแทนในรูปของกรรมธรรม์ประกันชีวิต ที่ไม่สามารถกำหนดมูลค่าที่ตายตัวได้
4. เส้นทางมูลค่าเงินสดหรือเงินสินไหม เส้นทางเดียวที่ได้รับการคุ้มครอง ปกป้องตามกฎหมายของสภาวะหนี้สินจากเจ้าหนี้
5. CEO หรือผู้บริหารระดับสูง การตัดสินใจมีต่อการบริหารและการลงทุน ในสภาวะแก้ปัญหางานการบริหาร ติดขัด และช่วงขาลงของนิติบุคคล
6. ความเป็นสากลต่อการบริหารทางการเงิน การสืบทอดหรือการส่งต่อธุรกิจกิจการ หรือสินทรัพย์และหนี้สิน ต่อทายาทรุ่นที่ 3
7. ผลตอบแทนที่ ได้รับการยกเว้นทางภาษี ตามประมวลรัษฎากร
8. เป็นกลยุทธทางการบริหารทางบัญชีให้กับองค์กรในการบริหารรายจ่ายของบริษัทหรือนิติบุคคล เพื่อเป็นรายได้สุทธิ สำหรับสำนักงานบัญชีที่ทราบข้อมูล รวมถึงประธานกรรมการและกรรมการบริษัทหรือองค์กร ที่เล็งเห็นความสำคัญในการสร้างประโยชน์ต่อการส่งมอบทรัพย์สินทางธุรกิจ
9. การหักลดหย่อนทางภาษีบุคคลธรรมดา ได้ถึง 300,000.- (สามแสนบาท)ในปีภาษีนั้น อาทิ กรรมการบริษัท ห้างหุ้นส่วน หรือองค์กร
ต่าง ๆ การจ่ายปันผลหุ้นของบริษัท อาทิ เมื่อการอนุมัติจ่ายปันผลหุ้นของบริษัท ที่ 500 (ห้าร้อยล้าน) เราเสียภาษี โดยหักค่าใช้จ่ายส่วนบุคคล และในนามประธานกรรมการและกรรมการที่่เป็นผู้ถือหุ้น เสียภาษีเป็นจำนวนเท่าไร และอย่างไร
แหล่งความรู้ การเงินและการลงทุน ⇒
แหล่งความรู้ ด้านภาษีอากร ⇒

เป้าหมาย
ารสร้างธุรกิจ การสร้างโรงงาน สร้างบริษัท นิติบุคคล หรือองค์กร เพื่อต่อรองทางการค้า และแสวงหาผลกำไร 
ผลประกอบการ รายได้ 9,068,417,259.- บาท หักต้นทุนและค่าใช้จ่าย 1,429,509,079.-บาท รายได้กรรมการ 12,000,000.-บาท กำไรก่อนหักภาษี 7,626,908,179.- บาท ต้องชำระภาษีในนามบริษัท หรือนิติบุคคล  1,525,381636.-บาท กำไรหลังหักภาษีแล้ว 6,101,526,543.-บาท จ่ายปันผลหักภาษี ณ ที่จ่าย 10% = 610,152,654.-บาท รวมภาษีนิติบุคคลและภาษีเงินปันผล   2,135,534,290.-บาท นั้น CEO ต้องการเงินสดสำรองในการบริหารกิจการยามฉุกเฉินหรือช่วงกิจการขาลงในยามสถานะการณ์ปัจจุบัน มากกว่า 100,000,000.-บาท (มากกว่าหนึ่งร้อยล้าน) จะตัดสินใจบริหารอย่างไร  

คำสั่งกรมสรรพากร 
ที่ ป. 96/2543 
เรื่อง การคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหัก ณ ที่จ่ายตามมาตรา 50 (1) แห่งประมวลรัษฎากร กรณีการจ่ายเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (1) แห่งประมวลรัษฎากร 
เพื่อให้เจ้าพนักงานสรรพากรถือเป็นแนวทางปฏิบัติในการตรวจและแนะนำผู้มีเงินได้และผู้จ่ายเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (1) แห่งประมวลรัษฎากร กรณีการคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหัก ณ ที่จ่ายตามมาตรา 50 (1) แห่งประมวลรัษฎากร กรมสรรพากรจึงมีคำสั่งดังต่อไปนี้
ข้อ 1 การคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหัก ณ ที่จ่าย ตามมาตรา 50(1) แห่งประมวลรัษฎากร กรณีการจ่ายเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(1) แห่งประมวลรัษฎากร แต่ไม่รวมถึงเงินได้ที่นายจ้างจ่ายให้ครั้งเดียวเพราะเหตุออกจากงานให้ปฏิบัติดังนี้
(1) ให้คำนวณหาจำนวนเงินได้พึงประเมินเสมือนหนึ่งว่าได้จ่ายทั้งปี โดยให้นำเงินได้พึงประเมินที่จ่ายแต่ละคราวคูณด้วยจำนวนคราวที่จะต้องจ่าย (ต่อปี) ดังนี้
(ก) กรณีจ่ายค่าจ้างเป็นรายเดือนให้คูณด้วย 12
(ข) กรณีจ่ายค่าจ้างเดือนละ 2 ครั้งให้คูณด้วย 24
(ค) กรณีจ่ายค่าจ้างเป็นรายสัปดาห์ให้คูณด้วย 52
การจ่ายเงินได้พึงประเมินให้แก่ผู้มีเงินได้ซึ่งเข้าทำงานระหว่างปี ให้คูณเงินได้พึงประเมินที่จ่ายแต่ละคราวในปีที่เข้าทำงานด้วยจำนวนคราวที่จะต้องจ่ายจริงสำหรับปีนั้น เช่น เข้าทำงานวันที่ 1 เมษายน และกำหนดจ่ายค่าจ้างเป็นรายเดือน จำนวนคราวที่จะต้องจ่ายสำหรับปีที่เข้าทำงานจะเท่ากับ 9
(2) ให้นำจำนวนเงินได้พึงประเมินเสมือนหนึ่งว่าได้จ่ายทั้งปีตาม (1) มาคำนวณภาษีตามเกณฑ์ในมาตรา 48 (1) แห่งประมวลรัษฎากร กล่าวคือ นำมาหักค่าใช้จ่ายค่าลดหย่อน และคำนวณภาษีตามบัญชีอัตราภาษีเงินได้สำหรับบุคคลธรรมดาเป็นเงินภาษีทั้งสิ้น
การคำนวณหักค่าลดหย่อน ให้คำนวณตามที่ผู้มีเงินได้ได้แจ้งไว้พร้อมกับแนบสำเนาหลักฐานแสดงสิทธิในค่าลดหย่อนตามแบบ ล.ย.01(แบบแจ้งรายการเพื่อการหักลดหย่อน) ทั้งนี้ ให้คำนวณหักค่าลดหย่อนได้ตามที่ผู้มีเงินได้ได้แจ้งไว้ตั้งแต่ต้นปีที่เริ่มหักภาษี ณ ที่จ่าย ไม่ว่าจะจ่ายค่าลดหย่อนนั้นในเดือนใดของปีก็ตาม เว้นแต่ค่าลดหย่อนเงินบริจาคให้คำนวณหักได้เมื่อมีการจ่ายเงินบริจาคจริงเท่านั้น
กรณีผู้มีเงินได้ได้แจ้งเปลี่ยนแปลงรายการค่าลดหย่อนระหว่างปี ให้คำนวณหักค่าลดหย่อนตามที่ผู้มีเงินได้ได้แจ้งการเปลี่ยนแปลงนั้น
(3) ให้นำจำนวนเงินภาษีทั้งสิ้นที่คำนวณได้ตาม (2) มาหารด้วยจำนวนคราวที่จะต้องจ่าย (ต่อปี) ตาม (1) ได้ผลลัพธ์เป็นเงินเท่าใด ให้หักเป็นเงินภาษี ณ ที่จ่าย ในแต่ละคราวที่จ่ายเงินนั้น
ถ้าการหารด้วยจำนวนคราวไม่ลงตัวเหลือเศษเท่าใด ให้เพิ่มเงินเท่าจำนวนที่เหลือเศษนั้นรวมเข้ากับเงินภาษีที่จะต้องหักไว้ครั้งสุดท้ายในปีนั้น เพื่อให้ยอดเงินภาษีที่หักรวมทั้งปีเท่ากับจำนวนภาษีที่ต้องเสียทั้งปี
(4) กรณีมีการเปลี่ยนแปลงจำนวนเงินได้พึงประเมินที่จ่ายระหว่างปี ให้คำนวณภาษีหัก ณ ที่จ่ายใหม่ทุกคราว ตามวิธีการตาม (1) - (3)
(5) กรณีมีการจ่ายเงินพิเศษเป็นครั้งคราวระหว่างปี เช่น ค่าล่วงเวลา เงินโบนัส ให้นำเงินพิเศษนั้นคูณด้วยจำนวนคราวที่จะต้องจ่าย (ต่อปี) เพื่อหาจำนวนเงินพิเศษเสมือนหนึ่งว่าได้จ่ายทั้งปี และให้นำมารวมเข้ากับเงินได้พึงประเมินที่จ่ายตามปกติที่คำนวณได้เสมือนหนึ่งว่าได้จ่ายทั้งปี แล้วคำนวณภาษีใหม่ตามที่กล่าวตาม (2) เป็นเงินภาษีทั้งสิ้นเท่าใดให้นำภาษีที่คำนวณจากเงินได้พึงประเมินที่จ่ายตามปกติทั้งปี (ก่อนจ่ายเงินพิเศษ) หักออกได้ผลลัพธ์เป็นเงินภาษีหัก ณ ที่จ่ายสำหรับเงินเพิ่มพิเศษซึ่งจ่ายเป็นครั้งคราวนั้น แล้วให้นำมารวมกับภาษีหัก ณ ที่จ่าย สำหรับเงินที่จ่ายตามปกติในคราวนั้น ผลลัพธ์ที่ได้จะเป็นเงินภาษีที่ต้องหัก ณ ที่จ่ายทั้งสิ้นในคราวที่มีการจ่ายเงินพิเศษนั้น
(6) กรณีมีการจ่ายเงินได้พึงประเมินที่ไม่สามารถคำนวณหาจำนวนคราวที่จะต้องจ่าย (ต่อปี) ให้คำนวณภาษีจากเงินได้พึงประเมินที่จ่ายแต่ละคราวตามเกณฑ์ในมาตรา 48 (1) แห่งประมวลรัษฎากร ได้ผลลัพธ์เป็นเงินเท่าใด ให้หักเป็นเงินภาษีนำส่งไว้เท่านั้น หากคำนวณแล้วไม่มีเงินภาษีที่ต้องเสียก็ไม่ต้องหัก ในปีเดียวกันนี้ถ้ามีการจ่ายเงินได้พึงประเมินให้ผู้รับรายเดียวกันนี้อีก ให้นำเงินได้พึงประเมินที่จ่ายในครั้งแรกมารวมกับเงินได้พึงประเมินที่จ่ายในครั้งที่สอง แล้วคำนวณภาษีตามเกณฑ์ในมาตรา 48 (1) แห่งประมวลรัษฎากร เช่นเดียวกับการคำนวณครั้งแรก หากคำนวณแล้วไม่มีภาษีที่ต้องเสียก็ไม่ต้องหัก ถ้าได้ผลลัพธ์เป็นเงินเท่าใดให้นำเงินภาษีที่หักและนำส่งไว้แล้ว (ถ้ามี) มาเครดิตออก เหลือเท่าใดจึงหักเป็นเงินภาษีและนำส่งไว้เท่านั้น ถ้ามีการจ่ายเงินได้พึงประเมินในครั้งที่สามและครั้งต่อ ๆ ไป ก็ให้คำนวณตามวิธีดังกล่าวนี้ทุกครั้งไป
(7) กรณีนายจ้างออกเงินค่าภาษีแทนให้ลูกจ้างสำหรับเงินเดือนหรือค่าจ้าง ที่ลูกจ้างได้รับในปีใด โดยลูกจ้างไม่ต้องรับภาระในการเสียภาษีด้วยตนเองเลย ให้นำเงินค่าภาษีที่นายจ้างออกแทนให้ไปรวมกับเงินเดือนหรือค่าจ้างที่ลูกจ้างได้รับในปีนั้น แล้วคำนวณภาษีตามเกณฑ์ในมาตรา 48 (1) แห่งประมวลรัษฎากร จนกว่าจะไม่มีเงินค่าภาษีที่นายจ้างต้องออกแทนให้อีก
(8) กรณีนายจ้างออกเงินค่าภาษีแทนให้ลูกจ้าง สำหรับเงินเดือนหรือค่าจ้างเป็นจำนวนที่แน่นอน เช่น เท่ากับจำนวนภาษีที่จะต้องชำระ ให้นำเงินค่าภาษีที่นายจ้างออกแทนให้ไปรวมกับเงินเดือนหรือค่าจ้างที่ลูกจ้างได้รับในปีนั้น แล้วคำนวณภาษีตามเกณฑ์ในมาตรา 48 (1)แห่งประมวลรัษฎากร
ข้อ 2 การคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหัก ณ ที่จ่าย สำหรับเงินได้พึงประเมินที่จ่ายในเดือนธันวาคมซึ่งเป็นเงินภาษีที่จะต้องหักไว้เป็นครั้งสุดท้ายในปีนั้น ให้ผู้จ่ายเงินได้พึงประเมินมีสิทธิที่จะคำนวณภาษีเพื่อให้ยอดเงินภาษีที่หักเมื่อรวมแล้วเท่ากับจำนวนภาษีที่ผู้มีเงินได้จะต้องเสียภาษีทั้งสิ้น โดยนำจำนวนภาษีที่ได้หักและนำส่งไว้แล้วมาหักออกจากภาษีที่ต้องเสียทั้งสิ้น ได้ผลลัพธ์เป็นเงินเท่าใดให้หักและนำส่งไว้เท่านั้น เช่น
นาย ก. มีเงินได้พึงประเมินที่จะต้องเสียภาษีทั้งปีจำนวน 20,140 บาท ซึ่งจะต้องถูกหักภาษีไว้เดือนละ 1,678.33 บาท ผู้จ่ายเงินได้พึงประเมินได้หักภาษี (คำนวณตามข้อ 1) และนำส่งไว้เดือนละ 928.33 บาท เป็นเวลา 9 เดือน (มกราคม-กันยายน) และเดือนละ 4,315 บาท เป็นเวลา 2 เดือน (ตุลาคม-พฤศจิกายน) รวมเป็นเงินภาษีที่หักและนำส่งไว้แล้ว = (928.33 X 9) + (4,315 X 2) = 16,984.97 บาท เหลือภาษีที่จะต้องหักและนำส่งในเดือนธันวาคม = 20,140 - 16,984.97 = 3,155.03 บาท
ข้อ 3 การคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหัก ณ ที่จ่าย สำหรับเงินได้พึงประเมินที่จ่ายในเดือนสุดท้ายที่ผู้มีเงินได้ออกจากงานระหว่างปี ให้ผู้จ่ายเงินได้พึงประเมินมีสิทธิที่จะคำนวณภาษี เพื่อให้เงินภาษีที่หักไว้ถูกต้องครบถ้วนตามรายการค่าลดหย่อนที่แท้จริงตามหลักฐานที่ผู้มีเงินได้นำมาแสดงโดยนำเงินภาษีที่หักไว้ไม่ครบถ้วนหรือเกินในเดือนก่อน ๆ มารวมหรือหักกับภาษีที่ต้องหัก ณ ที่จ่ายไว้ครั้งสุดท้ายนั้นได้ผลลัพธ์เป็นเงินเท่าใด ให้หักและนำส่งไว้เท่านั้น เช่น
นาย ก. ถูกหักภาษีไว้เดือนละ 928.33 บาท (ตามรายการค่าลดหย่อนที่ได้แจ้งไว้ต่อผู้จ่ายเงินได้พึงประเมิน) เป็นเวลา 5 เดือน นาย ก. ลาออกจากงานในเดือนต่อมา เมื่อผู้จ่ายเงินได้พึงประเมินคำนวณภาษี ตามรายการค่าลดหย่อนที่แท้จริงในเดือนสุดท้ายที่ออกจากงาน ได้ผลลัพธ์เป็นเงินภาษีที่ต้องหักเดือนละ 1,008.33 บาท ภาษีที่หักไว้ไม่ครบ = (1,008.33 - 928.33) X 5 = 400 จึงต้องหักภาษีและนำส่งในเดือนสุดท้ายนั้น = 1,008.33 + 400 = 1,408.33 บาท (กรณีถูกหักภาษีในแต่ละเดือนไว้ขาด) นาย ก. ถูกหักภาษีไว้เดือนละ 928.33 บาท (ตามรายการค่าลดหย่อนที่ได้แจ้งไว้ต่อผู้จ่ายเงินได้พึงประเมิน) เป็นเวลา 5 เดือน นาย ก. ลาออกจากงานในเดือนต่อมา เมื่อผู้จ่ายเงินได้พึงประเมินคำนวณภาษี ตามรายการค่าลดหย่อนที่แท้จริงในเดือนสุดท้ายที่ออกจากงาน ได้ผลลัพธ์เป็นเงินภาษีที่ต้องหักเดือนละ 803.33 บาท ภาษีที่หักไว้เกิน = (928.33 - 803.33) X 5 = 625 จึงต้องหักภาษีและนำส่งในเดือนสุดท้ายนั้น = 803.33 - 625 = 178.33 บาท (กรณีถูกหักภาษีในแต่ละเดือนไว้เกิน)
ข้อ 4 การคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหัก ณ ที่จ่าย สำหรับเงินได้พึงประเมินที่จ่ายในเดือนอื่นนอกจากกรณีตามข้อ 2 และข้อ 3 ผู้จ่ายเงินได้พึงประเมินยังคงต้องคำนวณภาษีและหัก ตามมาตรา 50 (1) แห่งประมวลรัษฎากร ตามที่กล่าวในข้อ 1
ข้อ 5 บรรดาระเบียบ ข้อบังคับ คำสั่ง หรือคำวินิจฉัยใดที่ขัดหรือแย้งกับคำสั่งนี้ ให้เป็นอันยกเลิก

สั่ง ณ วันที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2543 

ร้อยเอกสุชาติ เชาว์วิศิษฐ 
อธิบดีกรมสรรพากร 

คำสั่งกรมสรรพากร 
ที่ ป. 7/2528 
เรื่อง การคำนวณเงินค่าภาษีอากรที่นายจ้างหรือผู้จ่ายเงินหรือผู้อื่นออกแทนให้เป็นเงินได้พึงประเมินประเภทต่าง ๆ ตามมาตรา 40 แห่งประมวลรัษฎากร
เพื่อให้เจ้าพนักงานสรรพากรถือเป็นแนวทางปฏิบัติสำหรับกรณี คำว่า "เงินได้พึงประเมิน" ตามบทนิยามในมาตรา 39 และประเภทเงินได้พึงประเมิน ตามมาตรา 40 แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติม ประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 13) พ.ศ. 2527 ในบางกรณี กรมสรรพากรจึงมีคำสั่งดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ให้ยกเลิกคำสั่งกรมสรรพากรที่ ป.2/2526 เรื่อง การคำนวณค่าภาษีเงินได้ที่นายจ้างออกให้เป็นเงินได้พึงประเมินของลูกจ้างตามมาตรา 40 (1) แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 5 เมษายน พ.ศ.2526 แต่ให้ยังคงใช้บังคับต่อไปเฉพาะ ในการปฏิบัติจัดเก็บภาษีอากรที่ค้างอยู่หรือที่พึงชำระก่อนปีภาษี พ.ศ.2528
ข้อ 2 กรณีนายจ้างออกเงินค่าภาษีเงินได้แทนให้ลูกจ้าง สำหรับเงินเดือนหรือค่าจ้างที่ลูกจ้างได้รับในปีภาษีใด โดยลูกจ้างไม่ต้องรับภาระในการเสียภาษีเงินได้ด้วยตนเองเลย ให้นำเงินค่าภาษีเงินได้ที่นายจ้างออกแทนให้ไปรวมกับเงินเดือนหรือค่าจ้างที่ลูกจ้างได้รับในปีภาษีนั้นแล้วคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตามมาตรา 48(1) แห่งประมวลรัษฎากร จนกว่าจะไม่มีเงินค่าภาษีเงินได้ที่นายจ้างอาจใช้ตารางการคำนวณภาษีเงินได้ที่กรมสรรพากรจัดทำขึ้นซึ่งจะได้ผลเท่ากัน และลูกจ้างไม่ต้องรับภาระในการเสียภาษีเงินได้เพิ่มเติมในการคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาสำหรับเงินได้จำนวนดังกล่าวในปีภาษีนั้นอีก
ข้อ 3 กรณีนายจ้างออกเงินค่าภาษีเงินได้แทนให้ลูกจ้าง สำหรับเงินเดือนหรือค่าจ้างเป็นจำนวนเงินที่แน่นอน เช่น เท่ากับจำนวนภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย ที่นำส่งไว้แล้วให้นำเงินค่าภาษีเงินได้ทีนายจ้างออกแทนให้ไปรวมกับเงินเดือนหรือค่าจ้างที่ลูกจ้างได้รับในปีภาษีนั้น แล้วคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตามมาตรา 48(1) แห่งประมวลรัษฎากร กรณีดังกล่าวถ้ามีภาษีจะต้องเสียเพิ่มเติมในการคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาสำหรับปีภาษีนั้น ลูกจ้างต้องรับภาระในการเสียภาษีเงินได้เพิ่มเติมนั้นด้วยตนเอง
ข้อ 4 ความในข้อ 2 และข้อ 3 ให้ใช้บังคับแก่กรณีที่นายจ้างหรือผู้จ่ายเงินหรือผู้จ่ายเงินหรือผู้อื่นออกเงินค่าภาษีอากรแทนให้ผู้มีเงินได้สำหรับเงินได้ตามมาตรา 40 แห่งประมวลรัษฎากรทุกประเภท
ข้อ 5 กรณีนายจ้างหรือผู้จ่ายเงินหรือผู้ออกเงินค่าภาษีอากรแทนให้ผู้มีเงินได้สำหรับเงินได้ตามมาตรา 40 (1) และ (2) แห่งประมวลรัษฎากรของปีภาษีก่อน พ.ศ.2528 แต่ได้ออกให้ตั้งแต่ พ.ศ. 2528 เป็นต้นไป ให้ถือเป็นเงินได้ตามมาตรา 40 (1) และ(2) แห่งประมวลรัษฎากรของผู้มีเงินได้ในปีภาษี พ.ศ. 2528 ด้วย
กรณีนายจ้างผู้จ่ายเงินหรือผู้อื่นออกเงินค่าภาษีอากรแทนให้ ผู้มีเงินได้สำหรับเงินได้ประเภทใด ๆ ตามมาตรา 40 แห่งประมวลรัษฎากร ไม่ว่าจะออกแทนให้ในทอดใด ๆ และออกแทนให้ในปีภาษีใดก็ตาม ให้ถือว่าเงินค่าภาษีอากรดังกล่าว เป็นเงินได้ของประเภท และของปีภาษีเดียวกับเงินได้ที่มีการออกเงินค่าภาษีอากรแทนให้ เช่นนายจ้างออกเงินค่าภาษีเงินได้ให้ลูกจ้างสำหรับเงินเดือนหรือค่าจ้างที่ลูกจ้างได้รับในปีภาษี พ.ศ. 2528 โดยออกให้ในปี พ.ศ. 2529 กรณีเช่นนี้ให้ถือว่า เงินค่าภาษีเงินได้ที่นายจ้างออกให้เป็นเงินได้ตามมาตรา 40 (1) แห่งประมวลรัษฎากรของลูกจ้างสำหรับปีภาษี พ.ศ. 2528 นั้น การออกภาษีเงินได้ในกรณีเช่นนี้อาจทำให้ผู้เงินได้ต้องรับผิดเสียเงินเพิ่มภาษีอากรตามมาตรา 27 แห่งประมวลรัษฎากร
สั่ง ณ วันที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2528 

วิทย์ ตันตยกุล 
อธิบดีกรมสรรพากร

เลขที่หนังสือ :กค 0702/9358  ลง 12 พฤศจิกายน 2552 
ภาษีเงินได้นิติบุคคล กรณีบริษัทจ่ายเบี้ยประกันชีวิตให้กรรมการ
ข้อกฎหมาย มาตรา 40(1)(2) มาตรา 42(13) มาตรา 48(1) และมาตรา 65 ตรี (3)(13) แห่งประมวลรัษฎากร

ข้อหารือ
บริษัทฯ มีโครงการประกันชีวิตให้แก่กรรมการ โดยบริษัทฯ จะเป็นผู้ชำระเบี้ยประกันชีวิตแทนกรรมการ ซึ่งจะ กำหนดเงื่อนไขในการจ่ายเบี้ยประกันชีวิตให้กับกรรมการทุกคนเป็นการทั่วไปตามระเบียบมติที่ประชุมของบริษัทฯ มีกำหนด ระยะเวลาชำระเบี้ยประกัน 7 ปี ระยะเวลาความคุ้มครอง 14 ปี มีเงินจ่ายคืนตามสัญญาทุกปี และตามกรมธรรม์ผู้เอาประกัน คือ กรรมการ ส่วนผู้รับประโยชน์ คือ บริษัทฯ หรือครอบครัวหรือทายาทของกรรมการ จึงขอทราบว่า
1. เบี้ยประกันชีวิตที่ออกให้กรรมการ หักเป็นค่าใช้จ่ายของบริษัทฯ ได้หรือไม่
2. เงินค่าสินไหมทดแทนกรณีการสูญเสียชีวิตของกรรมการ ถ้าครอบครัวหรือทายาทเป็นผู้รับประโยชน์ จะมีภาระ ภาษีอย่างใด

แนววินิจฉัย
1. กรณีตาม 1. เบี้ยประกันชีวิตที่บริษัทฯ จ่ายแทนกรรมการตามระเบียบและมติที่ประชุมของบริษัทฯ หากเป็น กรณีที่บริษัทฯ ต้องจ่ายเบี้ยประกันชีวิตให้กรรมการทุกคนเป็นการทั่วไปตามระเบียบและมติที่ประชุมของบริษัทฯ เพื่อผล ประโยชน์ของบริษัทฯ แล้ว การจ่ายเบี้ยประกันชีวิตดังกล่าว จึงเป็นรายจ่ายเพื่อหากำไรหรือเพื่อกิจการโดยเฉพาะ และ ไม่ใช่รายจ่ายที่มีลักษณะเป็นการส่วนตัวหรือการให้โดยเสน่หา บริษัทฯ มีสิทธินำเบี้ยประกันชีวิตที่ออกให้นั้น มาถือเป็น รายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลได้ ไม่ต้องห้ามตามมาตรา 65 ตรี (3) และ (13) แห่งประมวลรัษฎากร
ทั้งนี้ เงินค่าเบี้ยประกันชีวิตที่บริษัทฯ จ่ายแทนกรรมการ เข้าลักษณะเป็นประโยชน์เพิ่มที่กรรมการได้รับ ถือเป็น เงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(1) หรือ (2) แห่งประมวลรัษฎากรแล้วแต่กรณี ซึ่งกรรมการต้องนำไปรวมคำนวณเพื่อเสียภาษี เงินได้บุคคลธรรมดาตามมาตรา 48(1) แห่งประมวลรัษฎากร
2. กรณีตาม 2. เงินสินไหมทดแทนกรณีการสูญเสียชีวิตของกรรมการที่ครอบครัวหรือทายาทเป็นผู้รับประโยชน์ ถือเป็นค่าสินไหมทดแทนเพื่อละเมิดหรือเงินได้จากการประกันภัยเป็นเงินได้พึงประเมินที่ได้รับยกเว้นไม่ต้องรวมคำนวณ เพื่อเสียภาษีเงินได้ตามมาตรา 42(13) แห่งประมวลรัษฎากร
เลขที่หนังสือ : กค 0811/408 ลง 21 มกราคม 2543 
เรื่อง : ภาษีเงินได้นิติบุคคล กรณีบริษัทจ่ายเบี้ยประกันชีวิตให้กรรมการผู้จัดการ
ข้อกฎหมาย : มาตรา 42 (13), มาตรา 65 ตรี (3), (6), (13)
ข้อหารือ
: บริษัทฯ จ่ายเบี้ยประกันชีวิตให้กรรมการผู้จัดการ ตามมติที่ประชุมของบริษัทฯ เพื่อเป็น
สวัสดิการและการตอบแทนคุณความดีที่บริหารธุรกิจจนประสบความสำเร็จด้วยดีตลอดมา จึงหารือว่า
1. เบี้ยประกันชีวิตที่ออกให้กรรมการผู้จัดการตามมติที่ประชุมนี้ หักเป็นค่าใช้จ่ายของบริษัทฯ
ได้หรือไม่มีข้อจำกัดอย่างไร
2. เบี้ยประกันชีวิตนี้จะถือเป็นรายได้พึงประเมินนำไปรวมคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
ของกรรมการผู้จัดการหรือไม่ มีข้อจำกัดอย่างไร
3. กรณีที่บริษัทฯ จ่ายภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาทั้งหมดแทนกรรมการผู้จัดการตามมติ
ที่ประชุมและเจตนารมณ์ของบริษัทฯ จะต้องดำเนินการอย่างไร
4. เงินสินไหมทดแทนกรณีการสูญเสียชีวิตของกรรมการผู้จัดการ ที่บริษัทฯ ยกให้แก่
ครอบครัวหรือทายาท มีภาระภาษีใดมาเกี่ยวข้องบ้าง
5. บริษัทฯ จะบันทึกบัญชีอย่างไร กรณีต่อไปนี้
(1) บริษัทฯ จ่ายเบี้ยประกันชีวิตแทนกรรมการผู้จัดการให้บริษัทประกันฯ
(2) บริษัทฯ รับเงินค่าสินไหมทดแทนกรณีการสูญเสียชีวิตจากบริษัทประกัน
(3) บริษัทฯ ยกผลประโยชน์จากเงินสินไหมทดแทนให้แก่ครอบครัวหรือทายาทของ
กรรมการผู้จัดการ กรณีเสียชีวิต
แนววินิจฉัย
: 1. เงินค่าเบี้ยประกันชีวิตที่บริษัทฯ จ่ายให้กรรมการผู้จัดการตามมติที่ประชุมของบริษัทฯ
หากเป็นกรณีที่บริษัทฯ ต้องจ่ายให้กับกรรมการทุกคนเป็นการทั่วไปตามระเบียบของบริษัทฯ แล้ว บริษัทฯ
มีสิทธินำเบี้ยประกันชีวิตที่ออกให้นั้นมาหักเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล
ได้ ไม่ต้องห้ามตามมาตรา 65 ตรี (3) และ (13) แห่งประมวลรัษฎากร และเพื่อความสะดวกใน
การแสดงหลักฐาน ให้บริษัทประกันภัยหมายเหตุไว้ในใบเสร็จรับเงินให้มีข้อความว่าเบี้ยประกันชีวิตที่รับนี้
จ่ายโดยบริษัท...
2. เงินค่าเบี้ยประกันชีวิตและเงินค่าภาษีอากรที่บริษัทฯ ออกให้ เข้าลักษณะเป็นประโยชน์
เพิ่มที่พนักงานหรือลูกจ้างของบริษัทฯ ได้รับ ถือเป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (1) แห่ง
ประมวลรัษฎากร ซึ่งพนักงานจะต้องนำไปรวมคำนวณเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ตามมาตรา 48 (1)
แห่งประมวลรัษฎากร
3. เงินค่าภาษีอากรที่บริษัทฯ ออกให้ ถือเป็นรายจ่ายที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับการ
ประกอบกิจการ บริษัทฯ สามารถนำมาหักเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสีย
ภาษีเงินได้นิติบุคคลได้ ไม่ต้องห้ามตามมาตรา 65 ตรี (6) แห่งประมวลรัษฎากร
4. ค่าสินไหมทดแทนเพื่อละเมิดหรือเงินได้จากการประกันภัย เป็นเงินได้พึงประเมินที่ได้
รับยกเว้นไม่ต้องรวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้ ตามมาตรา 42 (13) แห่งประมวลรัษฎากร
5. การบันทึกบัญชีของบริษัทฯ ให้ถือปฏิบัติตามมาตรฐานการบัญชีที่รับรองโดยทั่วไป
ภาษีบุคคลธรรมดา กับ ประกันชีวิต กรรมการบริษัท หรือคีย์แมน KeyMan
ประเภทเงินได้พึงประเมิน ตามมาตรา 40 แห่งประมวลรัษฎากร
(1) เงินได้จากการจ้างแรงงานฯ
(2) เงินได้จากหน้าที่งานหรือตำแหน่งงานฯ
(3) ค่าลิขสิทธิ์ คำพิพากษาของศาล
(4) ดอกเบี้ย เงินปันผล ผลได้จากทุน
ยืนแบบ ภ.ง.ด. 91 กรณีมีเงินได้ (1) ภ.ง.ด. 90 กรณีเงินได้ประเภทอื่นๆ
(5) เงินหรือประโยชน์จากการให้เช่่าทรัพย์สิน
(6) วิชาชีพอิสระ
(7) การรับเหมาะที่ผู้รับเหมาต้องลงทุนจัดหาสัมภาระสำคัญ
(8) อื่นๆ นอกเหนือจาก (1)- (7)
ยืนแบบ ภ.ง.ด.94 เงินได้ครี่งปีปฏิทิน
การหักค่าใช้จ่าย ตามมาตรา 40
(1) เงินได้จากการจ้างแรงงานฯ และ(2) เงินได้จากหน้าที่งานหรือตำแหน่งงานฯ หักค่าใช้จ่ายเป็นการเหมาได้ร้อยละ 50 ของเงินได้ แต่ไม่เกิน 100,000 บาท ถ้าสามีและภริยาต่างฝ่ายต่างมีเงินได้ แต่ละฝ่ายหักค่าใช้จ่ายของตนได้ร้อยละ 50 แต่ไม่เกิน 100,000 บาท
(3) หักค่าใช้จ่ายเป็นการเหมาได้ร้อยละ 50 ของเงินได้ แต่ไม่เกิน 100,000 บาท
(4) กฎหมายไม่ยอมให้หักค่าใช้จ่าย
(5)หัก 10- 30 %
(6) การประกอบโรคศิลปะหัก 60% อาชีพอื่นๆหัก 30%
(7) หัก 60%
(8) หัก 60% หมายเหตุ (43) (ข) 40 % 
สินค้าประกันชีวิต Hot โดยให้บริษัทจ่ายแทน 100 %
ประโยชน์สิทธิ (Χ) คูณ 2 เท่า
ประโยชน์ (X) คูณ 2 เท่าในการคำนวณ ภาษีทุกทอด ยังนำเงินได้บุคคลธรรมดามาคำนวณ เพื่อเสียภาษีทุกทอด โดยให้เป็นรายจ่ายบริษัทได้เพิ่มเติม 
ที่ปรึกษาทางการเงิน 
บริษัท ไทยประกันชีวิต จำกัด (มหาชน)        
สาขา รัตนธิเบศ                                                            อีเมล [email protected]


Visit 1351 ครั้ง
Presented by keymanassurance keymanassurance.tht.me